ความสำคัญของชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

Last updated: 21 ก.ค. 2568  |  43 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความสำคัญของชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
        ชุดปฐมพยาบาล(First aid kit) คือ อุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ถือเป็นสิ่งจำเป็นยามเดินทาง เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ดังนั้นการเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยชุดปฐมพยาบาลควรเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้สนิทหรืออุปกรณ์ที่กันน้ำ และอาจติดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานต่างๆ ไว้ด้วย นอกจากนี้อาจจดข้อมูลทางการแพทย์ของคนในครอบครัว เช่น หมู่เลือด ยาที่แพ้ และโรคประจำตัว



ความสำคัญของชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล:
ช่วยชีวิต:
ในกรณีฉุกเฉิน ชุดปฐมพยาบาลสามารถช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยได้ทันท่วงทีก่อนที่จะถึงมือแพทย์ 
บรรเทาอาการ:
ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเบื้องต้น เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย หรืออาการแพ้ 
ป้องกันการติดเชื้อ:
อุปกรณ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในชุดปฐมพยาบาลช่วยป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นกับบาดแผล 
เตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน:
การมีชุดปฐมพยาบาลติดตัวไว้เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเดินทาง หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง จะช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ 



สิ่งที่ควรมีในชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล:
อุปกรณ์ทำแผล:
ผ้าพันแผล, ผ้าก๊อซ, พลาสเตอร์, สำลี, ไม้พันสำลี, น้ำเกลือล้างแผล 
อุปกรณ์ทำความสะอาด:
แอลกอฮอล์, เบตาดีน, ผ้าเช็ดทำความสะอาดแผล 
ยา:
ยาแก้ปวด, ยาลดไข้, ยาแก้แพ้, ยาแก้ไอ, ยาแก้ท้องเสีย, เกลือแร่, ยาดม, ยาหม่อง, ยาแก้แมลงกัดต่อย 
อุปกรณ์อื่นๆ:
กรรไกร, ปากคีบ, ถุงมือ, ไฟฉาย, นกหวีด, เข็มกลัด, เทปใส 

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม:

  • ควรเลือกชุดปฐมพยาบาลที่ได้มาตรฐาน 
  • ควรเก็บชุดปฐมพยาบาลไว้ในที่แห้งและเย็น 
  • ควรตรวจสอบชุดปฐมพยาบาลเป็นประจำและเติมของที่หมดอายุหรือใช้งานไปแล้ว 
  • ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้สามารถใช้งานชุดปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 
 
ยาฉุกเฉินสำหรับรับประทาน โดยกล่องบรรจุยานี้ต้องปิดมิดชิด และ มีข้อความระบุข้างกล่องชัดเจนว่า เป็นยาสำหรับรับประทาน ควรมียาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อาทิยาลดไข้แก้ปวดผงเกลือแร่สำหรับการบาดเจ็บที่มีการเสียเลือดมาก หรือบาดแผลพุพองจากความร้อนที่มีบริเวณกว้าง หรือผู้ที่มีอาการอาเจียนและท้องเสียA
 
นอกจากนี้อาจมียาหรืออุปกรณ์อื่นๆ ตามความจำเป็น ทั้งนี้หากพบผู้บาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ ก่อนอื่นจะต้องตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ จากนั้นหากผู้ป่วยมีเลือดออกมากให้ปฐมพยาบาลโดยการห้ามเลือด โดยใช้ผ้าปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุดแต่อย่ากดจนซีดเขียว สำหรับภาวะเลือดออกภายในการห้ามเลือดอาจทำได้ยากหรืออาจทำไม่ได้เลย แต่สามารถช่วยปฐมพยาบาลเพื่อลดความรุนแรงได้คือให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบายที่สุด ปลอบใจให้ผู้ป่วยไม่ตื่นเต้นตกใจและสงบจะทำให้เลือดออกน้อยลง ห้ามให้อาหารและน้ำทางปาก จนกว่าแพทย์จะอนุญาต และหากไอเป็นเลือด ให้ผู้ป่วยพยายามไอเบาๆ จะทำให้เลือดออกน้อยลงนอกจากนี้หากกระดูกหักและจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายจริงๆ ให้ดามกระดูกก่อน โดยอาจใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวเช่นกระดาษแข็งหนาๆ หรือไม้นำมามัดดามไว้ด้วยเชือกหรือผ้าพันแผลบริเวณที่กระดูกหักเพื่อลดการขยับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้