เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ (Infusion Pump) คืออะไร ?
เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ คือ เครื่องมือทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง เครื่องมือที่ทันสมัยใช้สำหรับให้สารอาหารหรือสารละลายและให้ยาแก่ผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ ปัจจุบันยังมีเครื่องควบคุมการให้ยาหรือสารละลายด้วยกระบอกฉีดยา (Syringe Pump) เครื่องมือนี้ถูกนำมาใช้ในสถานพยาบาลทั่วไปสามารถควบคุมการให้ยาและสารละลายที่เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้ทางหลอดเลือดดำ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีอาการหลัก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จำเป็นต้องการรับสารอาหารและยาทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยในภาวะวิกฤตรอดพ้นจากสถานการณ์เลวร้าย ลดโอกาสการเสียชีวิต

ประเภทของ Infusion Pump:
- ปั๊มฉีดสารพิเศษ (Specialty Pumps):
ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะทาง เช่น การให้ยาเฉพาะ หรือการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการเฉพาะ เช่น โรคเบาหวาน - ปั๊มป้อนอาหาร (Enteral Pumps):
ใช้สำหรับให้สารอาหารเหลวและยาผ่านทางเดินอาหารของผู้ป่วย - ปั๊มอินซูลิน (Insulin Pumps):
ใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการให้อินซูลินอย่างต่อเนื่อง - ปั๊มควบคุมการให้ยาตามความต้องการของผู้ป่วย (Patient-Controlled Analgesia - PCA):
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการให้ยาแก้ปวดได้ด้วยตนเองในปริมาณที่จำกัด - ปั๊มฉีดสารละลายแบบอัตโนมัติ (Automatic Infusion Pumps):
ควบคุมการให้สารละลายเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ สามารถปรับอัตราการให้และปริมาตรได้ - ปั๊มควบคุมการให้เลือด (Blood Infusion Pumps):
ใช้สำหรับให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดแก่ผู้ป่วย โดยอาจมีตัวกรองเพื่อลดความเสี่ยง
วิธีใช้งาน เครื่องควบการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ- ขั้นตอนแรกให้กดปุ่มเปิดเครื่องควบคุมการให้สารละลายค้างไว้ รอจนมีไฟสีแดงติดแล้วค่อยปล่อย หากเคยมีการตั้งค่าไว้ก่อนหน้านี้ หน้าจอการแสดงผลจะถามว่าต้องเรียกใช้ค่าที่ตั้งไว้ล่าสุดหรือไม่ หากต้องการตั้งค่าใหม่ให้กดไม่หากต้องการใช้ค่าเดิมกดใช่ได้เลย
- ในกรณีที่เราไม่ได้เสียบปลั๊กหน้าจอจะแจ้งเตือนไม่ต้องการให้เสียบปลั๊กใช่หรือไม่ หากไม่ต้องการเสียบปลั๊กไฟให้กดตกลงได้เลย
- การตั้งค่าเครื่องหลักๆ แล้วมี 4 ฟังก์ชั่นด้วยกันได้แก่ การกำหนดค่าปริมาตรสารละลายที่ต้องการให้ มีหน่วยเป็น ml อัตราที่ต้องการให้ เวลาที่ต้องการให้โดยปกติทั่วไปเครื่องจะคำนวณเวลามาให้โดยอัตโนมัติและปริมาตรที่จ่ายไป
- ต่อมาคือวิธีการใส่สายให้กดปุ่มเปิดฝา ให้สังเกตที่ลูกศรจะให้เราใส่สายจากขวาไปทางซ้าย กดปุ่ม anti free flow เทคนิคการใส่สายคือดึงสายให้ตึง หลังจากนั้นตรวจเช็คให้ดีว่าสายไม่หลวมหรือหลุดออกก่อนปิดฝาขึ้น
- เครื่องบางรุ่นจะให้เลือกว่าสายที่เราใส่เป็นสายยี่ห้ออะไร หลังจากที่เราเลือกแล้วให้กด start ได้เลย ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนอัตราสามารถเปลี่ยนได้ที่หน้าจอ หลังจากเปลี่ยนแล้วกดตกลง ในกรณีที่ต้องการ Bolus สามารถตั้งค่าปริมาตร อัตรา เวลา เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่มเริ่ม Bolus ได้เลย

วิธีการดูแลเครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ infusion pump
- ต้องระมัดระวังไม่ให้เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำกระแทก เพราะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานได้
- ต้องไม่ติดตั้งเครื่อง infusion pump ไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือมีความชื้นในอาการสูง เพราะอาจทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายและทำให้ระบบเกิดการทำงานที่ผิดพลาด
- เลือกใช้สายน้ำเกลือที่ได้มาตรฐาน และไม่นำสายน้ำเกลือกลับมาใช้ซ้ำ
- ต้องใช้ปลั๊กที่ต่อสายดินและเชื่อมต่อไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันของไฟฟ้าที่เหมาะสม
- ต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่อง infusion pump อย่างสม่ำเสมอ
- เมื่อพบว่าเครื่อง infusion pump ชำรุด ควรรีบแจ้งผู้เชี่ยวชาญให้กับมาซ่อมแซมทันที
- ต้องมีการศึกษาข้อมูลและวิธีการใช้งานเครื่อง infusion pump ก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

ข้อดีของ เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
- ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรืออาการหนักได้รับยาทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้น
- ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีความจำเป็นช่วยพยุงอาการของผู้ป่วย
- เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาปริมาณน้อยเช่น 1 มล./ชม. แต่ต้องได้รับยาต่อเนื่อง
- ช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากภาวะวิกฤตด้วยการให้สารอาหารหรือยาทางหลอดเลือดดำ