Last updated: 16 ก.พ. 2566 | 893 จำนวนผู้เข้าชม |
ความดันโลหิตสูง (HYPERTENSION)
สภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับ ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติของคนส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแตกได้ นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อมหรือโรคไตวายเรื้อรัง
การวัดความดันโลหิตสูง ค่าความดันที่วัดได้จะออกมา 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง
ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป
ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป
ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ
ค่าความดันโลหิตที่ควรระวัง
สูงเล็กน้อย สูงปานกลาง สูงมาก
140 - 159 (mm/Hg)
90 - 99 (mm/Hg)
160 - 179 (mm/Hg)
100 - 109 (mm/Hg)
มากกว่า 180 (mm/Hg)
มากกว่า 110 (mm/Hg)
ใครว่า “ความดันโลหิตสูง Hypertension ไม่อันตราย”
คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
ปวดศีรษะ
มึนงงศีรษะ
คลื่นไส้, อาเจียน
เหนื่อยง่าย
หน้ามืดเป็นลม
เหล่านี้คือกลุ่มอาการที่พบบ่อยๆ ของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
มากกว่า 90 % เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) มักพบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุพบได้น้อย ซึ่งเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น โรคไต หลอดเลือดที่ไตตีบบครรภ์เป็นพิษ เนื้องอกบางชนิด โรคทางต่อมหมวกไตยาบางอย่าง เป็นต้น
การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
มากกว่าร้อยละ 90 ไม่ทราบสาเหตุแต่พบปัจจัยเสริมดังนี้
กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้
สิ่งแวล้อม เป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น อ้วนมาก เบาหวาน ทานอาหารรสเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด ไม่ออกกำลังกายและส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคที่มีความผิดปกติของระบบฮอร์โมน โรคความผิดปกติของหลอดเลือดระบบไหลเวียน ยาบางชนิดอาการ
ความดันโลหตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง
มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรือ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูงจึงได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ”
ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น เครียด ไมเกรน
ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงจะรักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงมาเป็นปกติ อาการดังกล่าวก็จะหายไป
ผลของโรคความดันโลหิตสูง
ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะสำคัญดังนี้
สมอง : เลือดไปเลียงสมองไม่พอ บางส่วนของเนื้อสมองตายเกิดอัมพาต บางรายเสื้นเลือดในสมองโป่งพองและแตกทำให้เลือดออกในสมองและเสียชีวิตได้
ตา : เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรตินา ซึ่งเป็นส่วนของประสาทและหลอดเลือดที่ทำให้สามารถมองเห็นได้ โดยอาจเกิดมีน้ำคั่งหรือมีเลือดออก ทำให้ประสาทตาเสื่อมสมรรถภาพถึงกับตามองไม่เห็นได้
หัวใจ : กล้ามเนื้อหัวใจ หนาขึ้น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบลงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ไต : เนื้อของจากหลอดเลือดแข็งและตีบลง เนื้อที่การกรองของไตน้อยลงเกิดการคั่งของของเสียในร่างกายมากขึ้น ไตทำงานไม่เป็นปกติ เกิดภาวะไตวายได้
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
หากพบว่าค่าความดันโลหิตผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้
อาหาร
หากรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และควรรับประทานผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป เพราะผลไม้หลายชนิดมีรสหวาน หากเลือกรับประทานนมควรเป็นนมไขมันต่ำ
การออกกำลังกาย
ควรเลือกออกกำลังกายแบบแอโรบิค(Aerobic exercise) หรือการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาที ระดับการออกกำลังกายที่สามารถออกได้ คือเบาถึงปานกลาง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักหรือหักโหม
บุหรี่และสุรา
ควรงดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา เนื่องจากทั้งบุหรี่และสุราส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพและระดับความดันโลหิต
การใช้ยา
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปรับยาเอง การรับประทานยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้รักษา
ควบคุมน้ำหนัก
พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ข้อมูลโดย
ตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ
วัดระดับความดันโลหิตเป็นประจับทุกวัน เพื่อระระดับความดันว่าแต่ระวันอยู่ในระดับไหน หากความดันสูงจะได้รับมือทัน
ผศ. ดร.สิริรัตน์ ลีลาจรัส
อาจารย์พยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
2 มิ.ย. 2566
14 มิ.ย. 2565
24 ก.พ. 2565
15 มิ.ย. 2565